วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดอกดาวเรือง

ประสบการณ์ชีวิตของฉัน   ดิฉันได้ไปชมสวนดอกดาวเรือง สวนดอกดาวเรืองสวยมาก  ดอกดาวเรืองยัง

เป็นดอกไม้เศรษฐกิจ  และยังมีประโยชย์อีกมากมาย   อย่างเช่นนำไปไหว้พระ    ทำอาหาร  เช่น นำไป

ทอด  ดิฉันจึงได้คิดศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับดอกดาวเรืองเพื่อเป็นประโยชย์ให้กับทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดอกดาวเรือง

การผลิตต้นกล้าดาวเรือง
ระยะต้นกล้า
ระยะที่1
ระยะที่2
ระยะที่3
ระยะที่4
การสังเกต
เพาะเมล็ดจนกระทั่ง
รากโผล่พ้นเมล็ด
รากงอกจนกระทั่ง
เห็นใบเลี้ยงคู่แรก
สังเกตเห็นใบจริง
คู่แรกเริ่มพัฒนา
รากเจริญลงลึก
มีใบจริง 2-3 คู่
การเจริญเติบโต
3-4 วัน
4-7 วัน
7-12 วัน
12-20 วัน
ค่า กรด/ด่าง
6.0-6.5
6.0-6.5
6.0-6.5
6.0-6.5
การใส่ปุ๋ย
ไม่ต้องการปุ๋ยในระยะนี้
ปุ๋ยเม็ด 15-0-0  33 กรัม ละลายในน้ำ 100 ลิตร
ปุ๋ยเม็ด 15-0-0     66 กรัมละลายน้ำ 100 ลิตร(1-2 ครั้ง/สัปดาห์)
ปุ๋ยเม็ด 15-0-0   66 กรัมละลายในน้ำ 100 ลิตร       (1-2ครั้ง/สัปดาห์)   
การรดน้ำ
พ่นฝอย
รดโคนต้นโดยใช้ฝักบัว
อุณหภูมิ
22-24 c
22-24 c
22-24 c
22-24 c
สภาพแสง
ใช้ตาข่ายพรางแสง  70-80%
ใช้ตาข่ายพรางแสง
25-50%
ใช้ตาข่ายพรางแสง
25%
ไม่ต้องการพรางแสง
ความชื้น
ความชื้นปานกลาง
ความชื้นสลับแห้ง ตลอด 24 ชม.
ระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้า GERMINATION
ระยะที่ 1
ระยะที่ 2
ระยะที่ 3
ระยะที่ 4
การเพาะเมล็ดโดยใช้ถาดหลุม
การเพาะเมล็ดในถาดเพาะจะได้ต้นกล้าที่มีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอดี
วัสดุอุปการณ์สำหรับเพาะเมล็ด
มีเดียหรือวัสดุเพาะ
การเพาะเมล็ดลงในถาดเพาะเมล็ด
ข้อดี  คือต้นกล้าแข็งแรง  ได้ผลผลิตแน่นอน  ย้ายปลูกง่ายและระบบรากไม่กระทบกระเทือนเวลาย้ายปลูก
การผสมทีเดียและน้ำ
การวัดความชื้นของมีเดียด้วยการบีบ  เมื่อบีบวัสดุเพาะควรจะมีน้ำซึมออกมาตามง่ามนิ้วพอประมาณ
การนำมีเดียบรรจุลงถาดเพาะและทำหลุมลึกประมาณ 0.5 ซม.
การหยอดเมล็ดลงในถาดหลุม 1 เมล็ด/หลุม             กลบด้วยมีเดีย

ถาดเพาะ
การเพาะเมล็ดลงกระบะหรือตะกร้า
ต้นกล้าที่หว่านลงดินโดยตรง



สารกันเชื้อราและปุ๋ยต้นกล้า

ต้นกล้าเจริญเติบโตสม่ำเสมอ 
แต่ย้ายปลูกยาก  เพราะรากจะพันกันทำให้รากเสียหาย
เมื่อแยกต้นกล้าออกจากกัน
-  ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ
-  อัตราการงอกต่ำ
-  เกิดความเสียหายช่วงย้ายปลูกมาก
 
วิธีนี้สะดวกประหยัดต้นทุนแต่จะได้ผลลิตไม่ดีเท่ากับใช้ถาดเพาะ  และระบบรากอาจได้รับความกระทบกระเทือนเวลาย้ายปลูก

 
   

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดอกดาวเรือง

การเตรียมพื้นที่ ( ก่อนย้ายปลูก 10-15 วัน )
1. ไถผานพื้นที่ปลูกด้วยผาน 3 หรือ ผาน 7
2.หว่านปูนขาวอัตรา 300-400 กก./ไร่

 
3. ไถโรตารี่แปลงให้ละเอียดสำหรับเตรียมแปลงยกร่อง

การยกร่องแปลงสำหรับเพาะเมล็ดช่วงเดือน มีนาคม-สิงหาคม
แปลงควรมีขนาดความกว้าง 1-1.2 เมตร สูง 0.50 เมตร
ร่องแปลงกว้าง 0.80 เมตรหว่านปุ๋ย 0-46-0 อัตรา 35-50 กก./ไร่
ขี้ไก่สดหรือขี้ไก่อัดเม็ด อัตรา 200-300 กก./ไร่ แล้วขึ้นแปลงกลบ

ดอกดาวเรือง

วิธีการตัดดอกดาวเรือง
 1.สังเกตดอกที่มีใจกลางขนาดเท่าหัวปากกา
 2. ตัดก้านดอกให้ยาวพอประมาณ
 3. ใส่ตระกร้าที่เตรียมไว้และทำการขนย้าย
 4. นำไปพึ่งให้ดอกแห้งแต่อย่านำดาวเรืองไปพึ่งที่แดดเพราะจะทำให้ดาวเรืองดอกไหม้ได้แนะนำให้ใช้พัดลมช่วยในการเป่าให้แห้ง
 5. ทำการคัดเลือกดาวเรืองแต่ละเบอร์ จะมีทั้งหมด 4 เบอร์ คือ เบอร์โบ้, เบอร์1, เบอร์2,และเบอร์3

ดอกดาวเรือง

ดอกดาวเรือง

ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองใน

กลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์

ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆ

อีกหลายพันธุ์

ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า

ดอกไม้สัญลักษณ์

 การใช้ประโยชน์

ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาว

เรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของ

อาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์

ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ[1] จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู
ลักษณะทรงต้น
          ลักษณะลำต้นของดาวเรืองมีหลากหลายเช่น
 
สูงโปร่ง  เป็นทรงพุ่มแน่น  และลำต้นเตี้ยแผ่  ซึ่ง

ลักษณะดังกล่าวจะมีปัจจัย  เรื่องของความยาวของ

แสงและอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ตัวอย่างเช่น

  ดาวเรืองพันธุ์  Sovereign  gold  เมื่อเพาะเมล็ดในช่วง

 เดือนมกราคมไปจนถึงกลางเดือนกันยายน จะทำให้ได้

ต้นดาวเรืองที่มีความสูง 80 ถึง 120  เซนติเมตร แล้วแต่พื้นที่แต่เมื่อเพาะดาวเรือง ช่วงกลางเดือน

กันยายน จนถึงกลางเดือนมกราคมจะทำให้ได้ต้นดาวเรืองที่มีความสูงลดลง  40-50 เปอร์เซ็นต์

 ตัวอย่างเช่นดาวเรืองที่ปลูกในเขต  อำเภอพบพระ จังหวัดตากช่วงฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิ 10-15  องศา

เซลเซียส  ดาวเรือง Sovereign  gold  จะมีความสูงเพียง  20 เซนติเมตรเท่านั้นที่โคนต้นจะมีรากอากาศ

  เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อ ไม้เมื่อเจอลมแรงทำให้หักล้มง่าย รากอากาศนี้เมื่อสัมผัสดิน ก็จะ

ชอนไชลงดินหาอาหาร และ ทำหน้าที่ยึดลำต้นทำให้เจริญเติบโต ได้ตามปกติต่อไป อย่างไรก็ตามเรา

สามารถจำแนก ลักษณะลำต้นของดาวเรือง ตามรูปแบบของทรงพุ่มได้ 5 รูปแบบ (Ball RedBool, 1991) 

ได้แก่
  • Ball  shaped  หรือ  compact  มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ยกลมมีความสูงประมาณ 15-25  เซนติเมตร  ได้แก่  กลุ่มดาวเรืองฝรั่งเศสต้นเตี้ย  เช่น  Janie  series,  Little  Devil Series
  • Basal-branching  มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ย  แผ่กิ่งก้านเกือบแนบพื้น  มีความสูงประมาณ 30-40  เซนติเมตร  ดาวเรืองที่มีลักษณะทรงพุ่มแบบนี้ได้แก่พันธุ์  Discovery  series  และพันธุ์  Inca  series เป็นต้น
  • Hedge  type  มีลักษณะทรงพุ่มแน่น สูงปานกลาง  ประมาณ 45-60  เซนติเมตร  ดาวเรืองที่มีลักษณะทรงต้นแบบนี้ได้แก่  พันธุ์  Galore Series,  Lady  Series  และ  Perfection  Series
  • Tall,  bushy  มีลำต้นสูงโปร่งแตกกิ่งก้านสาขามากมีความสูงประมาณ  60-120  เซนติเมตร  ดาวเรืองที่มีลักษณะลำต้นแบบนี้ได้แก่ดาวเรืองพันธุ์  Sovereign  Series  (Gold Coin Series)  และ  Jubillee  Series

ดอกดาวเรือง

ประวัติความเป็นมาของดาวเรือง

          ดาวเรืองเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Tagetes ซึ่งเป็นชื่อเทพ ของชาว Etruscan ดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่นิยมอย่างมากในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เม็กซิโก ในเอเชียใต้จะใช้ดาวเรืองสำหรับพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมใช้บูชาทางศาสนาพุทธและพิธีมงคลต่างๆ ในเม็กซิโกจะใช้ดอกดาวเรืองในเทศกาลวันแห่งความตายเพื่อระลึกถึงวิณญาณบรรพบุรุษ
พืชในจีนัสเดียวกับดาวเรืองมีประมาณ 50 Species มีทั้งพวกล้มลุก และ พวกยืนต้นอยู่ได้หลายฤดู พืชสกุล Tagetes ในธรรมชาติ พบแพร่กระจายพันธุ์ตามพื้นที่ร้อน และแห้งแล้ง ตามพื้นที่ลาดชัน และก้นหุบเขา แถบ New Mexico ไปจนถึงประเทศอาร์เจนติน่าและมี 1 Species พบที่แอฟริกา
Tagetes erecta (ดาวเรืองอเมริกัน), Tagetes patula (ดาวเรืองฝรั่งเศส) และ Tagetes tenuifolia (ดาวเรือง signet) โดยทั้งหมดมาจากทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเม็กซิโก ดาวเรืองอเมริกัน สามารถผสมเข้ากับดาวเรืองฝรั่งเศสได้ และให้ลูกผสมที่เป็นหมัน


ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของดาวเรืองอเมริกัน

           ดาวเรืองที่นิยมปลูกในปัจจุบันคือ  Tagetes  erecta  Linn  คือดาวเรืองอเมริกันเป็น Diploid  มีจำนวนโครโมโซม 2n=24  และ T.patula  คือดาวเรืองฝรั่งเศส เป็น Tetraploid  มีจำนวนโครโมโซม 2n=48  ดาวเรืองเป็นไม้ดอกล้มลุกเนื้ออ่อน ซึ่งนิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ดาวเรืองจัดเป็นพืชผสมข้าม  โดยใช้แมลงช่วยผสมเกสร และเป็นพืชวันสั้น
           ดาวเรืองเป็นพืชใบเลี้ยงคู่  ลักษณะใบเป็นแบบขนนก (Pinnately)  ใบย่อยยาวเรียวปลายแหลมเรียงตัวแบบตรงข้าม  จัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน  ช่อดอกเป็นแบบ  head  ที่ประกอบด้วย ดอกย่อยขนาดเล็กไม่มีก้าน  ดอกจำนวนมากรวมกันอยู่บนแกนกลาง  ช่อดอกที่หดสั้นมากจะแผ่กว้าง  ตรงกลางนูนเล็กน้อยคล้ายฐานรองดอก  ทำให้มองเห็นคล้ายดอกเดี่ยว  ดอกย่อยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  ดอกย่อยชั้นใน (Disc Floret)   มีลักษณะคล้ายกระดิ่งหรือหลอด  เป็นดอกสมบูณ์เพศ  มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย  ส่วนดอกชั้นนอก (Ray  Floret)  มีรูปร่างคล้ายลิ้น มีเฉพาะเกสรตัวเมีย  ดาวเรืองบางชนิดอาจมีเฉพาะกลีบดอกชั้นนอก หรือกลีบชั้นในเพียงอย่างเดียว หรือ ทั้งดอกมีแต่เกสรตัวเมียที่เห็นเป็นเส้นตลอดทั้งดอกเราเรียกดอกประเภทนี้ว่าดอก  apetalus  หรือดอกที่ไม่มีกลีบดอกนั้นเอง  สีดอกมีตั้งแต่สีส้มเข้มไปจนถึงสีครีมขาว


ลักษณะดอกดอกดาวเรืองเรียกว่า ดอกแบบ head  ซึ่งประกอบด้วยดอกหลายดอกมาอยู่รวมกัน  เรียกว่าดอกย่อย(floret)  ขนาดเล็กไม่มีก้านดอกจำนวนมากรวมกันอยู่บนแกนกลาง  ช่อดอกที่หดสั้นมากจะแผ่กว้าง  ตรงกลางนูนเล็กน้อยคล้ายฐานรองดอก  ทำให้มองเห็นคล้ายดอกเดี่ยว  ดอกย่อยแบ่งเป็น 2 ชนิด  คือ  ดอกย่อยชั้นใน(disc  floret)  มีลักษณะคล้ายกระดิ่งหรือหลอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย  ส่วนดอกย่อย  ชั้นนอก (ray  floret)  มีรูปร่างคล้ายลิ้น เป็นดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวเมีย  ดาวเรืองบางชนิดอาจมีเฉพาะดอกย่อยชั้นนอกอย่างเดียว หรือ มีแต่เกสรตัวเมียอย่างเดียวแต่ไม่มีกลีบดอกเรียกว่า  apetalus  มีเกสรตัวผู้เชื่อมติดล้อมรอบเกสรตัวเมีย  และอยู่ติดกับกลีบดอก  อับละอองเกสรตัวผู้มี 2 ช่องตามยาว  ก้านเกสรตัวเมียมีปลายแยกเป็น 2 แฉก  รังไข่เป็นแบบ  inferior  ไข่ติดอยู่กับฐานของรังไข่  ผลเป็นแบบ Achene  เมล็ดไม่มี  endosperm  ขนาดดอกมีตั้งแต่ 4 ถึง 12  เซนติเมตร

การจำแนกดอกดาวเรืองตามลักษณะภายนอก

การจำแนกตามลักษณะดอก
                1.  ดอกชั้นเดียว (Single  flower)  ช่อดอกจะมี  ray  floret  อยู่เพียง 1-2  ชั้นส่วนใหญ่จะเป็นดอกย่อยชั้นในมองดูคล้ายดอกดาวกระจาย
                2.  ดอกกึ่งซ้อน (Semi  flower)  ช่อดอกจะมี ray  floret มากกว่า 2  ชั้นขึ้นไป  ตรงใจกลางดอกยังมี ดอกย่อยชั้นในอยู่ส่วนมากจะพบดอกประเภทนี้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติและดาวเรืองอาหารสัตว์
                3.  ดอกซ้อน (Double  flower)  ช่อดอกประเภทนี้จะมีแต่  ray  floret  เท่านั้น  นอกจากนี้ดอกซ้อนก็ยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปอีกคือ  ดอกซ้อนแบบดอกเบญจมาศ  (Chrysanthemum  type)  ดอกชนิดนี้มองดูคล้ายกับว่ามีแต่ดอกย่อยชั้นใน  ดอกย่อยแต่ละดอกมีลักษณะคล้ายระฆังปลายเป็นแฉกๆ  ดอกชนิดนี้พบมากตามธรรมชาติเป็นดาวเรืองพื้นเมืองที่นิยมนำมาร้อยมาลัย
                4.  ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมียและไม่มีกลีบดอก (apetalus  flower)  เป็นดอกที่กลีบดอกลดรูปลงไปมีแต่เกสรตัวเมียที่เห็นเป็นฝอย  ดอกดาวเรืองประเภทนี้ นักปรับปรุงพันธุ์จะคัดเลือกเอาไว้เป็นสายพันธุ์แม่

สีดอก

สีดอกดาวเรือง  มีสี  ขาวครีม  เหลืองอ่อน(Primrose  หรือ  Lemon)  เหลือง  ทอง  ส้ม  ส้มเข้ม  (Deep  orange  หรือ  scarlet)

การจำแนกพันธุ์ดาวเรืองอเมริกันตามความสูง
1.1  พันธุ์เตี้ย   ได้แก่ดาวเรืองที่มีความสูงของลำต้น  ปกติในช่วงฤดูวันยาวประมาณ  24-40  เซนติเมตร  ได้แก่  Discovery  series  และ  Antique  series  สองพันธุ์นี้จัดเป็นพันธุ์ลูกผสม  ส่วนพันธุ์ผสมเปิดได้แก่  พันธุ์  Crush  series  คือ  Papaya  crush  สีทอง  Pineapple  crush  สีเหลือง  Pumpkin  crush  สีส้ม และ Guys and Dolls  Mix  เอาสีทั้งสามพันธุ์มาผสมกัน
1.2  พันธุ์ที่มีความสูงปานกลางได้แก่  ดาวเรืองที่มีความสูง  ปกติในช่วงวันยาวประมาณ  45-65  เซนติเมตร  ได้แก่  Galore  series,  Inca ll  series,  Big bloom  series,  Iceberg  และ  Jamaica  series
1.3  พันธุ์ดาวเรืองที่มีขนาดลำต้นสูง  ได้แก่พันธุ์ดาวเรืองที่มีความสูงปกติในช่วงวันยาว  70  เซนติเมตรขึ้นไป  ได้แก่  Dollar gold,  sovereign  series, Perfection  series, Climax  series  ส่วนพันธุ์ OP  ได้แก่  Crackerjack